📢วันที่ 21 มกราคม 2564 คุณประพันธ์ สิมะสันติ ที่ปรึกษาสมาคมฯ และผู้อำนวยการสมาคม ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ หารือแผนการดำเนินงานในประเทศไทย โครงการสิทธิจากเรือสู่ฝั่ง ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Ship to Shore Rights South East Asia โดยมีผู้เช้าร่วมประชุมทั้งภาครัฐ เอกชน สมาคมและภาคประชาสังคม โดยสรุปดังนี้
📢📢เบื้องต้น คุณแกรม บัคเล่อ ผู้จัดการโครงการ ได้ชื่นชมผู้ประกอบการที่ได้นำ GLP ไปดำเนินการทั้งจากที่สมาคม TFFA /TTIA โดยเป็นการดำเนินการเชิงรุก และเป็นการส่งเสริมแนวปฏิบัติที่ดีด้านแรงงานในอุตสาหกรรม สร้างความมีส่วนร่วมของนายจ้างและแรงงาน และนำสิ่งที่ได้ส่งต่อให้ผู้อื่นเพื่อนำไปปฏิบัติกันต่อในอุตสาหกรรม นอกจากนี้จากที่ประเทศไทยยังเป็นต้นแบบในภูมิภาค ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดี เช่น การรับอนุสัญญา C188
♦️วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการย้ายถิ่นเพื่อการทำงานที่ปลอดภัยในประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในภาคประมงและแปรรูปอาหารทะเล
♦️ระยะเวลา 4 ปี (1 ส.ค. 2564-31 ก.ค. 2567) โดยงบประมาณจาก EU 10 ล้านยูโร สำหรับ 7 ประเทศที่ดำเนินงาน (ไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว พม่า ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และองค์กรในระดับภูมิภาคย่อย เช่น ASEAN Secretariat)
♦️กลุ่มเป้าหมายในโครงการ คือ แรงงานข้ามชาติ, องค์กรลูกจ้างและองค์กรนายจ้าง, รัฐ, องค์กรจัดหางานและสมาคมการจัดหางาน, เจ้าของเรือและสมาคมประมง, ภาคประชาสังคม, องค์กรในชุมชน, ครอบครัวและชุมชน, สถาบันวิจัยและนักวิชาการ, เครือข่ายสื่อ, เยาวชน และสาธารณชนทั่วไป
♦️วัตถุประสงค์
1️⃣เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพกรอบกฎหมาย นโยบาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวกับการย้ายถิ่นเพื่อการทำงานและมาตรฐานแรงงาน
2️⃣เพื่อคุ้มครองสิทธิแรงงานและส่งเสริมสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับแรงงานข้ามชาติทุกคนตั้งแต่การจัดหางาน จนสิ้นสุดการจ้างงาน
3️⃣เสริมพลังให้กับแรงงานข้ามชาติ ครอบครัว องค์กร และชุมชนเกิดความเข้มแข็งเพื่อส่งเสริมด้านการใช้สิทธิของแรงงาน
📋📋ความเห็นต่อการดำเนินการภายใต้โครงการนี้
❇️ส่งเสริมการให้ความรู้ด้านกฎหมาย สิทธิและหน้าที่แรงงาน รวมถึงปลอดภัยในการทำงาน เพื่อให้แรงงาน รวมถึงผู้ประกอบการขนาดเล็ก ขนาดกลางมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ในส่วนแรงงานประมงต้องให้ความรู้ในเรื่องความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพิ่มเติมด้วย
❇️การสื่อสารให้แรงงานข้ามชาติในภาษาที่เข้าใจ และพัฒนาการสื่อสารผ่านเทคโนโลยีระบบโชเชี่ยล ระบบที่เข้าถึงได้ง่ายและทันเวลา เช่น สายด่วน Hotline รวมถึงการตั้งศูนย์ช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ
❇️รณรงค์การรับอนุสัญญา 87/98 เพื่อเพิ่มอำนาจการเจรจาต่อรอง
❇️หาแนวทางลดอุปสรรค ขั้นตอนและค่าใช้จ่ายของแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาในประเทศปลายทาง โดยมีการศึกษาวิจัย รูปแบบความต้องการ เหตุผลของการย้ายถิ่นมาทำงาน และวิเคราะห์ผลตอบแทน ความพึงพอใจของแรงงาน ขั้นตอนให้สอดคล้องและเหมาะสมต่อสถานการณ์
❇️เน้นความร่วมมือระดับภูมิภาค สนับสนุนนโยบายทวิภาคีการโยกย้ายถิ่นฐานให้มีความปลอดภัย ความร่วมมือกันตั้งแต่ประเทศต้นทางและปลายทาง
❇️ทบทวนกฎหมายไทย ที่ออกตามอนุสัญญา C188 ว่ามีผลกระทบอย่างไรและข้อปฏิบัติใดสามารถบังคับใช้ได้จริงหรือไม่
❇️ทำ Mapping Vessel standard หรือการนำ GLP ไปปรับใช้เพื่อคุ้มครองแรงงานประมง
❇️เสริมสร้าง พนง.ตรวจแรงงาน เรื่องการบังคับใช้กฎหมาย และด้านสิทธิมนุษยชน และสร้างจริยธรรมให้กับผู้ทำงานตรวจแรงงานและล่าม รวมถึงให้แต่ละหน่วยงานประสานความร่วมมือกัน
❇️ตั้งศูนย์การเรียนรู้เด็กให้กับแรงงานข้ามชาติ และมีการดูแลสาธารณสุขในชุมชนของเขา
📌ความเห็นที่สำคัญ
✳️ได้มีการเสนอให้การนำ GLP ไปใช้ของภาคธุรกิจให้มีภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
✳️เสนอให้มีการสร้างความมีส่วนร่วมในกระบวนการร้องเรียนเมื่อเกิดปัญหา โดยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง CSOs และสมาคมการค้า โดยไม่ต้องส่งเรื่องไปถึงผู้ตรวจภาครัฐ
🚩🚩คุณประพันธ์ได้เสนอ ในส่วนความรู้พื้นฐานกฎหมาย มาตรฐานแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ประกอบการขนาดเล็ก ต้องได้รับการอบรม
✂️✂️สำหรับข้อเสนอการดำเนินการที่เกิดขึ้น มีหลากหลาย ซึ่งทางฝ่ายเลขาโครงการจะสรุปทั้งหมด และให้ทางผู้เข้าร่วมประชุมโหวต เพื่อเลือกนำข้อที่คะแนนสูงสุดและรองลงมาตามลำดับ หารือและทำแผนดำเนินงานต่อไป