สรุปการเข้าร่วมอภิปราย โครงการอาเซียน-ออสเตรเลียเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ (ASEAN-ACT) มีผู้เข้าร่วมจากตัวแทนหลายประเทศ เช่น กัมพูชา ฟิลิปปินส์ พม่า อินโดนีเซีย สำหรับในส่วนผู้แทนประเทศไทยคือ พล.ต.อ. ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีประเทศไทย ด้านการค้ามนุษย์ โดยในวันนี้ประธานเปิดการประชุม Mr. Will Nankervis เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำ ASEAN
โดยเป็นกิจกรรมการร่วมชมสารคดี Ghost Fleet และอภิปรายประเด็นเรื่องการค้ามนุษย์ในภาคประมงในฐานะที่เป็นภัยคุกคามระดับภูมิภาคที่มีผลต่อชุมชนและเศรษฐกิจ และนโยบาย รวมถึงแนวทางที่จำเป็นในการป้องกันและรับมือต่ออาชญากรรมนี้
"Ghost Fleet" เป็นสารคดีการติดตามการทำงานของกลุ่ม NGOs ที่ออกตามหาและช่วยเหลือแรงงานทาสชาวไทย พม่า และกัมพูชา ที่ถูกจับไปใช้งานบนเรือประมงและสุดท้ายถูกนำตัวไปปล่อยไว้ที่เกาะในทะเลของอินโดนีเซีย บางคนไม่ได้กลับบ้านนับเป็น 10 ปี และจำนวนมากที่เสียชีวิตและถูกฝังร่างลงบนเกาะห่างไกลนั้นโดยที่ญาติพี่น้องไม่ทราบเรื่อง โดยสารคดีนี้ไม่ได้เจาะจงในการวิจารณ์ประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่ทำให้เราเห็นว่านี่คือปัญหาระดับภูมิภาค
Watch the Ghost Fleet trailer here: https://www.youtube.com/watch?v=5cSUYlY_dhg
สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. ควรมีการร่วมมือของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เพื่อช่วยเหลือการค้ามนุษย์ในเรือประมงในภูมิภาคนี้ ถ้ากฎหมายแต่ละประเทศยังไม่เหมือนกัน เรือที่แปลงสัญชาติ ก็จะยังคงมีการใช้แรงงานการค้ามนุษย์ต่อไป
2. ควรมีการส่งเสริมให้มีการรวมตัวกันของแรงงานชาวประมง
3. เราทำกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับเรื่องกระบวนการผลิตอาหารอย่างโปร่งใส ว่าในกระบวนการไม่มีการใช้แรงงานจากการค้ามนุษย์
4. ความไว้วางใจซึ่งกันและกันทั้งส่วนภาครัฐ เอกชน และ NGOs และการมีส่วนร่วมร่วมกัน
5. ปัญหาในอดีตไม่มีสัญญาจ้าง หรือมีสัญญาจ้างแต่ได้เงินค่าจ้างไม่เป็นไปตามสัญญาจ้าง (กฎหมาย)
6. การจ่ายค่าธรรมเนียม ควรเป็นค่าธรรมเนียมที่แรงงานสามารถจ่ายได้ เพื่อไม่ให้กลายเป็นแรงงานขัดหนี้ และควรมีสวัสดิการเพื่อคุณภาพชีวิตของลูกเรือประมงเพิ่มขึ้น เช่น ประกันสุขภาพ
7. การคัดแยกเหยื่อ และการเยียวยาเหยื่อการค้ามนุษย์ มีกระบวนที่สำคัญและจำเป็น เพื่อให้แรงงานสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งประเทศต้นทาง และปลายทาง ที่เกี่ยวข้อง
